ชื่อ | พันเอกหญิง (พิเศษ) คุณหญิงอรชร คงสมพงษ์ |
---|---|
ยศทหาร | พันเอกหญิง (พิเศษ) |
ตำแหน่ง | ข้าราชการบำนาญ สังกัดกระทรวงกลาโหม |
บิดา | ร้อยตำรวจตรี ไชย ปาณะโตษะ |
มารดา | นางชะอุ่ม ปาณะโตษะ |
สมรสสามี | ร้อยโทสุนทร คงสมพงษ์ (ปี 2502) พลเอก (ปี 2530) พลเรือเอก, พลอากาศเอก (ปี 2532) |
บุตร | 1. พลเอก อภิรัชต์ คงสมพงษ์ 2. พลตรี ณัฐพร คงสมพงษ์ |
การศึกษาในประเทศ | โรงเรียนสวนสุนันทาวิทยาลัย (ปี 2494) โรงเรียนสตรีวัดระฆัง (ปี 2497) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ปีการศึกษา 2500) วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักรภาครัฐร่วมเอกชน รุ่นที่ 3 ปี 2533 การศึกษาขณะรับราชการทหาร โรงเรียนผู้บังคับหมวด โรงเรียนผู้บังคับกองร้อย รุ่นที่ 4 ปี 2507 โรงเรียนผู้บังคับกองพัน โรงเรียนการประชาสัมพันธ์ฝ่ายอำนวยการของสำนักนายกรัฐมนตรี รุ่นที่ 9 (ปี 2511) |
การศึกษาต่างประเทศ |
|
ประวัติการทำงาน
1. งานในหน้าที่ราชการทหาร
- ว่าที่ร้อยตรีหญิง (ปี 2501) เหล่าสารบรรณ กรมการทหารสื่อสาร
เป็นโฆษกหญิงคนแรกของสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 สนามเป้า - บรรณาธิการข่าวในประเทศและต่างประเทศ
(หลังจากสมรสกับ ร้อยโทสุนทร คงสมพงษ์ แล้ว) - อาจารย์สอนภาษาอังกฤษ กรมยุทธศึกษาทหารบก
- SUPER VISOR ผู้กำกับหลักสูตรการสอนภาษาที่กรมยุทธศึกษาทหารบก และประสานงานกับ JUSMAG ด้านการสอนภาษาอังกฤษ (AMERICAN ENGLISH) ให้แก่นายทหารในกองทัพบกที่สอบชิงทุนไปเรียนต่างประเทศ
- หัวหน้าแผนกวิชาทั่วไป โรงเรียนการบินทหารบก ศูนย์การบินทหารบก จังหวัดลพบุรี
- ประจำแผนกช่วยราชการ กอรมน. กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน (สวนรื่นฤดี) ในด้าน อพป. (อาสาพัฒนาและป้องกันตนเอง) ซึ่งทางราชการให้เร่งแผนพัฒนาและนำกระทรวงหลัก 6 กระทรวง เข้าร่วมทำงานที่สวนรื่นฤดี มีการประกวดหมู่บ้านในระดับจังหวัด ได้เป็นกรรมการร่วมตัดสินให้รางวัล 1 ล้านบาท สำหรับหมู่บ้านที่ได้รับคัดเลือกในระดับจังหวัด
2. งานด้านการกุศล (ทำควบคู่ไปในระหว่างรับราชการทหาร)
ขณะดำรงตำแหน่งอุปนายกสมาคมแม่บ้านกองบัญชาการทหารสูงสุด ทำการแทนนายกสมาคมแม่บ้าน (อุปนายก ปี 2530 – 2533) ได้เป็นผู้ให้แนวความคิดเน้นหนักในด้านการบำรุงขวัญและกำลังใจครอบครัวทหาร จัดการฝึกอบรมอาชีพเสริมให้แม่บ้านโดยให้ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ให้ทุนการศึกษาแก่บุตรข้าราชการทหารที่เรียนดีอย่างต่อเนื่องทุกปี
ในตำแหน่งนายกสมาคมแม่บ้านกองบัญชาการทหารสูงสุด (ปี 2533 – 2535) ได้รวบรวมสมาคมแม่บ้านกระทรวงกลาโหม, สมาคมแม่บ้านกองทัพบก, สมาคมแม่บ้านกองทัพเรือ, สมาคมแม่บ้านกองทัพอากาศและสมาคมแม่บ้านตำรวจ ขณะนั้นกล่าวได้ว่าทหาร ตำรวจ มีการผนึกกำลังกันอย่างมั่นคง มุ่งเสริมสร้างงานกุศล ทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัดทุกจังหวัด จะเห็นได้จากการจำหน่ายดอกไม้ป๊อปปี้ช่วยมูลนิธิสงเคราะห์ครอบครัวทหารผ่านศึก การจำหน่ายดอกบัวบูชาในวันวิสาขบูชา ช่วยงานศูนย์ส่งเสริมพระพุทธศาสนาแห่งประเทศไทย ซึ่งมีสมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราชสกลมหาปรินายกเป็นองค์ประธาน ขณะนั้นดอกบัวยังไม่เป็นที่รู้จักแพร่หลายนัก ได้ริเริ่มทำการประชาสัมพันธ์ทุกรูปแบบทั้งทางหนังสือพิมพ์ วิทยุ (ออกพูดในรายการ “คุยกันที่ชานเรือน” ของวิทยุ 919) และทางวิทยุทหาร ตำรวจ ตลอดจนริเริ่มการวางแผนจำหน่ายดอกบัวเป็นพาน เนื่องจากได้ฝึกแม่บ้านไว้แล้วจึงให้มาจัดพานดอกบัว เอากลยุทธ์การตลาดในเชิงการจัดจำหน่ายมาใช้อย่างได้ผลเพราะการจำหน่ายทีละดอกๆ ละ 5 บาท (สมัยนั้น ปี 2530) นานมากกว่าจะได้เงินล้าน กลยุทธ์นี้ได้ผลเพราะสถิติการจำหน่ายดอกบัวได้เงินหลานล้านมากมาย (จำหน่ายปีละ 1 วัน ตามที่เราท่านทราบกันอยู่)
เยี่ยมประชาชนที่ประสพอุทกภัยจากใต้ฝุ่นเกย์ อย่างทันควัน (คือน้ำยังท่วมอยู่) แจกของใช้ที่จำเป็นในการยังชีพ และติดจตามผลตามลำดับ จนถึงขั้นที่ทางราชการสร้างที่พักอาศัย สร้างโรงเรียนและให้พื้นที่ทำการเกษตร (ติดตามผลอย่างต่อเนื่อง 3 – 4 ปี)
- จัดแข่งขันแรลลี่กรุงเทพฯ – ตาก นำเงินช่วยโครงการ “อีสานเขียว”
- จัดคอนเสิร์ตช่วย “อีสานเขียว” ซึ่งโครงการนี้เป็นพระราชปรารภของพระบาทสมเด็จ
- ช่วยงานมูลนิธิโรคไต และได้รับพระราชทานเข็ม “สว.” ทองคำ จากพระหัตถ์ของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี (สมเด็จย่า ที่ทุกคนเทิดทูน)
- ช่วยงานกาชาด ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2501 จนปัจจุบันได้รับพระราชทานเหรียญกาชาดสรรเสริญ และเหรียญกาชาดสมนาคุณชั้นที่ 1 จากพระหัตถ์ของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
นโยบายและอุดมการณ์ในการทำงาน
1. ด้านที่เป็น นายทหาร พันเอก (พิเศษ) หญิง
- รักษาระเบียบวินัย และแบบธรรมเนียมทหารอย่างเคร่งครัด
- มีรุ่นน้อง รุ่นพี่ มีความสามัคคี เอื้ออาทรต่อกัน
- รู้จักผู้ใต้บังคับบัญชาเป็นอย่างดี จึงมอบหมายงานได้อย่างเหมาะสม
- ซื่อสัตย์ จงรักภักดีต่อ ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ แม้เอาชีวิตเข้าแลก
- การทำงานมีเป้าหมาย มีแผนงาน มีการดำเนินการตามแผนเป็นขั้นตอน มีการหาข่าว (ข่าวกรอง) มีการติดตามการดำเนินงานเป็นระยะๆ และข้อสุดท้ายคือการกำกับ ดูแล และพร้อมปรับเปลี่ยนแผน หรือแก้ปัญหาให้ผู้ใต้บังคับบัญชา ทั้งนี้เพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้อย่างสมบูรณ์ และเป็นไปตามเจตนารมณ์ของผู้บังคับบัญชา
2. ด้านที่เป็นในฐานะพลเรือนอุปนายกและนายกสมาคมแม่บ้านกองบัญชาการทหารสูงสุด
เป็นเวลา 5 ปี (พ.ศ. 2530 – 2535) นอกจากที่กล่าวมาในข้อ 1. ที่เป็นนายทหารแล้ว ในการทำงานกับพลเรือน (พ่อค้า ประชาชน และบุคคลในวงสังคม) ยังต้องเพิ่มเติมสิ่งเหล่านี้อีก
- ความอ่อนน้อมต่อคนทั่วไปที่เห็นควร
- ยกย่องให้เกียรติผู้อื่นตามฐานะ
- พยายามจดจำชื่อและนามสกุล
- ตระหนักอยู่เสมอว่างานที่สำเร็จได้นั้น เพราะได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่าย ทุกคน มิใช่ฝีมือเราคนเดียว
- งานการกุศลเป็นงานที่ต้องตั้งใจทำด้วยความรักที่จะทำ เสียสละเวลาแม้แสนจะเหน็จเหนื่อย เสียสละทุนทรัพย์ส่วนตัวโดยไม่หวังผลตอบแทนในรูปแบบใดๆ ทั้งสิ้น ใครเห็นก็เห็น ใครทราบก็ทราบ ใครรู้ก็รู้ เมื่อมีความรู้สึกเช่นนี้แล้วเราจะทำงานการกุศลได้ยาวนาน และด้วยความสบายใจ
- มีความโปร่งใส ไม่ด่างพร้อย รักษาชื่อเสียง เกียรติยศให้คงอยู่ตลอดไป
ความสำเร็จในชีวิตการทำงาน
- ได้รับพระราชทานยศ พันเอกหญิงพิเศษ (เป็นยศสูงสุดที่ผู้หญิงจะได้ในสมัยนั้น)
- ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตระกูลมงกุฎ, ตระกูลช้างเผือก และจุลจอมเกล้า
- มีความภาคภูมิใจที่ลูกน้องและ/หรือเพื่อนร่วมงาน ยังแวะเวียนไปมาหาสู่ ไม่ขาดสาย แม้จะเกษียณอายุราชการไปแล้วก็ตาม
สิ่งเหล่านี้ถือได้ว่าเป็นความสำเร็จในหน้าที่การงานอย่างสูง